กฎหมายควบคุมแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาปลอดภัย มีอะไรบ้าง
การทำงานทุกอาชีพจะต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมแรงงาน เพื่อทำให้เกิดระเบียบของการทำงานที่ถูกต้อง พร้อมทำให้ผู้ที่เป็นแรงงานได้รับความยุติธรรมต่ออาชีพของตนเอง ทั้งในเรื่องของค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย จะขึ้นตรงกับกฎหมายควบคุมแรงงานด้วยเช่นกัน โดยจะมีรายละเอียดคล้ายคลึงกับอาชีพอื่น ๆ ดังนี้
1.เวลาทำงาน
เวลาการทำงานปกติจะอยู่ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือเป็นไปตามที่นายจ้างกับลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ แต่จะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะงานบางประเภทที่มีอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยสูง จะต้องมีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2.เวลาพักระหว่างทำงาน
เวลาพักของการทำงานตามปกติ จะต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากทำงานมาแล้วไม่เกินกว่า 5 ชั่วโมงต่อเนื่อง
3.วันหยุด
การทำงานต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ที่ไม่น้อยกว่า 1 วัน และจะต้องมีระยะห่างไม่เกิน 6 วัน แต่ถ้าเป็นงานด้านขนส่ง โรงแรม งานภายในป่า หรืองานอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงได้กำหนดไว้ จะสามารถสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำได้ พร้อมการหยุดได้ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน และจะต้องมีวันหยุดตามประเพณีที่ไม่น้อยไปกว่า 13 วัน มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่จะต้องไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี ส่วนของลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 1 ปี สามารถตกลงกับนายจ้าง เพื่อสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีออกไปในปีอื่น ๆ ได้
4.ทำงานล่วงเวลา
การทำงานล่วงเวลาจะต้องเป็นไปตามความยินยอมของลูกจ้าง การทำงานในวันหยุดจะทำได้แค่เท่าที่จำเป็น และเมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
5.การลา
การลาของลูกจ้างจะทำได้ทั้งการลาป่วย, ลากิจ, ลาทำหมัน, ลารับราชการทหาร, ลาคลอดบุตร และลาวันฝึกอบรม
6.ค่าตอบแทนทำงาน
ค่าตอบแทนสำหรับการทำงานจะมีค่าจ้างที่ถือเป็นเงินหลัก จะมีกำหนดเวลางานปกติไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าเป็นค่าจ้างที่ไม่ใช่รายเดือน ถ้ามีการทำงานที่เกินกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไป ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 3 เท่าในวันหยุด สำหรับผู้ที่ทำงานรายเดือนจะไม่มีการจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ยกเว้นการเป็นลูกจ้างแบบรายวัน รายชั่วโมง และลูกจ้างตามผลงานเท่านั้น ค่าจ้าง ของวันลาจะถูกแบ่งออก ดังนี้
- วันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี
- วันลาเพื่อทำหมัน
- วันลาเพื่อรับราชการทหารไม่เกิน 60 วันต่อปี
- วันลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 45 วันต่อครรภ์
ซึ่งจะต้องได้เงินเดือนตามปกติทั้งหมด
7.การปรับ พ.ร.บ.ใหม่
การปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 7 ปี พ.ศ.2562 มีการปรับให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ สามารถลาก่อนคลอดและหลังคลอดรวมกันได้ 98 วัน และถ้ามีการเลิกจ้างจะต้องได้รับค่าชดเชยใหม่ คือ
- ลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะต้องได้รับเงินชดเชยรวมแล้ว 400 วัน
8.สิทธิ์ค่าจ้าง
ค่าจ้างและค่าตอบแทนจะต้องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง
9.การเปลี่ยนนายจ้าง
ถ้ามีการเปลี่ยนตัวของนายจ้างหรือเปลี่ยนนิติบุคคล ทางลูกจ้างไม่ยินยอมจะสามารถรับค่าชดเชยพิเศษตามกฎหมายที่ให้สูงสุด คือ การทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับถึง 400 วัน
รายละเอียดของกฎหมายควบคุมแรงงานสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังมีอีกหลายส่วน แต่ที่นำมาให้ได้ศึกษานี้จะเป็นส่วนสำคัญ ที่ผู้ทำงาน รปภ.ควรรู้ไว้เป็นเบื้องต้น เมื่อทำงานแล้วจะได้ไม่ถูกเอาเปรียบจากทางนายจ้างได้
ช่องทางการติดต่อ
- IG : Security1service
- FB : Security 1 Service
- LINE : @security1service
- Website : https://security1service.com