หาก รปภ. คนนึงหยุดงาน หัวหน้ารปภ. ต้องดำเนินการอย่างไร

หาก รปภ. คนนึงหยุดงาน หัวหน้ารปภ. ต้องดำเนินการอย่างไร

หาก รปภ. คนนึงหยุดงาน หัวหน้ารปภ. ต้องดำเนินการอย่างไร

การทำงาน รปภ.หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องมีวันหยุดที่เหมือนกับอาชีพอื่น ๆ โดยสามารถได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อย 1 วันต่อสัปดาห์, วันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วันต่อปี และวันพักร้อนที่ไม่ต่ำกว่า 6 วันต่อปี  แต่สำหรับวันพักร้อนจะต้องทำงานมาครบ 1 ปีก่อน จึงจะสามารถรับได้ ดังนั้นเมื่อใดที่ รปภ.ต้องการหยุดงาน ไม่ว่าจะเป็นด้วยธุระใดก็ตาม หัวหน้า รปภ.จะต้องดำเนินการเปลี่ยนผู้มาทำงานแทน เพื่อไม่ให้จุดนั้น ๆ ว่างลง เมื่อใดที่ รปภ.คนใดคนหนึ่งในสถานที่ทำงาน ต้องการลาหรือเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ หัวหน้า รปภ.จะต้องมีหน้าที่ในการติดต่อ รปภ.จากจุดอื่นให้เข้ามาทำงานแทน เพื่อทำให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้จุดนั้น ๆ ต้องว่างลง แล้วอาจกลายเป็นความอันตรายของสถานที่ได้ ผู้เป็นหัวหน้า รปภ.จึงจะต้องรู้จักจัดสรรทั้งเวลาและคนทำงาน ให้สามารถมาลงประจำจุดได้ครบถ้วนทุกวัน ซึ่งถ้ามี รปภ.หยุดและไม่สามารถหาผู้ใดมาแทนได้ ทางบริษัทรักษาความปลอดภัยและตัวหัวหน้า รปภ.เอง อาจจะถูกหักค่าจ้าง เพราะเป็นหนึ่งในสัญญาว่าจ้างที่มีระบุไว้ จะต้องมี รปภ.มาประจำทุกจุดและทุกวัน เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อใดมี รปภ.หยุด หัวหน้า รปภ.จึงจะต้องดำเนินการหาผู้มาอยู่แทนให้ได้ ที่สำคัญคือผู้นั้นจะต้องเต็มใจในการมาอยู่แทน และจะต้องไม่เป็นผู้ที่ทำงานเกินเวลามากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมได้ การทำงานของ รปภ.จะถูกกำหนดไว้เหมือนกับการทำงานทั่วไป คือ วันละ 8 ชั่วโมง หรือการรวมทั้งสิ้นแล้วภายใน 1 สัปดาห์ จะต้องไม่เกินไปกว่า 48 ชั่วโมง เพื่อให้เป็นไปตามหลักการด้านสุขภาพและความปลอดภัยลูกจ้าง แต่ถ้าจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา จะต้องอยู่ในเวลาที่ถูกกำหนดและลูกจ้างต้องได้รับเงินค่าล่วงเวลาอย่างเหมาะสม

ช่องทางการติดต่อ

Post Tags :

Share :

About Us

บริษัท รักษาความปลอดภัย วัน เซอร์วิส
Security 1 Service

Contact Us

สอบถามรายละเอียดบริการหรือข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อเพื่อประเมินราคา

เราตอบทุกคำถาม
และยินดีให้คำปรึกษาโดยทีมงานมืออาชีพ