เจ้าหน้าที่ จป. เกี่ยวข้องอะไรกับงาน รักษาความปลอดภัย
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อของเจ้าหน้าที่ จป. มาก่อน โดยเฉพาะพนักงานรักษาความปลอดภัยหรือ รปภ. ที่จะต้องทำงานเชื่อมโยงกับ จป.ได้เช่นกัน โดยชื่อย่อ จป.นั้น คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ หรือ Safety officer และถูกเรียกว่า จป.วิชาชีพ จะเป็นผู้ที่คอยตรวจสอบและดูแล พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายและอุบัติเหตุของการทำงานต่อผู้ที่เป็นพนักงานภายใน รวมไปถึงตัวของโรงงานและองค์กรต่าง ๆ ถือเป็นตำแหน่งทางกฎหมายที่ถูกกำหนดและบังคับให้นายจ้างทุกสถานประกอบการต้องมีในที่ทำงาน ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่จะทำงานเชื่อมต่อกับ รปภ.ด้านการรักษาความปลอดภัยโดยรวม แต่จะมีหน้าที่เจาะลึกมากกว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนั่นเอง แต่สำหรับผู้ที่จะมาเป็น จป.ได้นั้นจะถูกแบ่งการรักษาความปลอดภัยในหลายสัดส่วนด้วยกันและจะต้องมีความรู้ ความสามารถในด้านนั้น ๆ เช่น การแบ่งออกเป็น จป.ด้านไฟฟ้า, ประปา, ด้านอาคาร, ความปลอดภัยโรงงานอุตสาหกรรม, เครื่องจักรกล, โรงแรม, โรงพยาบาล, คลังสินค้า, สถานีบริการน้ำมัน, เหมืองแร่, บริษัทด้านโลจิสติกส์, ห้างสรรพสินค้า, สถาบันการเงิน, สถานบันเทิง, ด้านการกีฬา และอีกหลากหลายด้านเลยทีเดียว โดยจะถูกเรียกว่า จป. เทคนิคเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ที่จะต้องมีการสอบและออกใบอนุญาต ซึ่งสถานบริการทุกแห่งจะต้องมี จป.ประจำการ จึงจะไม่ถูกโทษทางกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จึงถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
- ระดับบริหาร
- ระดับหัวหน้า
- ระดับเทคนิค
- ระดับเทคนิคขั้นสูง
- ระดับวิชาชีพ
การทำงานจะเชื่อมต่อกับ รปภ.ในเรื่องของการปฏิบัติงานที่จะต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยภายในอยู่เสมอ ซึ่งอาจจะต้องใช้ข้อมูลการดูแลของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามช่วงเวลาต่าง ๆ มีการวิเคราะห์งาน เพื่อการบ่งชี้ถึงเรื่องอันตราย การกำหนดมาตรการป้องกันและนำเสนอขั้นตอนการทำงานที่มีความปลอดภัย ประเมินความเสี่ยงด้านการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง วิเคราะห์แผนของโครงการ ทำการตรวจและประเมินงานของสถานประกอบการ พร้อมเสนอแนะด้านมาตรการความปลอดภัยโดยรวม มีการตรวจสอบสาเหตุเมื่อเกิดอุบัติเหตุและความอันตรายต่าง ๆ แม้แต่อาการเจ็บป่วยภายในที่เกิดกาเรื้อรังหรือติดต่อกันภายในองค์กร จป.จะต้องเป็นผู้จัดทำทั้งด้านการวิเคราะห์, การจัดทำรายงาน และการรวบรวมสถิติต่าง ๆ เพื่อนำเสนอด้านความปลอดภัยและจัดการต่อปัญหาต่าง ๆ เพื่อทำให้ลูกจ้างไม่เสี่ยงต่ออันตรายมากเกินไป พร้อมการนำไปปฏิบัติเมื่อทางนายจ้างได้อนุมัติและมอบหมายงานให้ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็น จป.วิชาชีพ จะต้องมีการสำเร็จด้านการศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สายตรงของวิชาชีพนี้ คือ สาขาอาชีวอนามัย ซึ่งมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนคือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่ จป.จึงมีความเกี่ยวข้องกับ รปภ. หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในเรื่องของการทำงานด้านข้อมูลร่วมกัน เพราะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นผู้ดูแลส่วนต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการ พร้อมการจัดทำรายงาน ข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าเกิดปัญหาใดขึ้น เจ้าหน้าที่ จป.จะสามารถนำข้อมูลนี้ไปร่วมในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและเสนอแนะเรื่องการป้องกันให้กับนายจ้างต่อไป
ช่องทางการติดต่อ
- IG : Security1service
- FB : Security 1 Service
- LINE : @security1service
- Website : https://security1service.com