อันตรายจากการทํางาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานในสภาวะที่ขาดปัจจัยด้านความปลอดภัยหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อม สถานที่ทำงาน อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าลูกจ้างหรือนายจ้างก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิต
ในบทความนี้ Security 1 Service จะมาแนะนำสาเหตุของการเกิดอันตรายจากการทํางานว่า มีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันหรือลดโอกาสเกิดอันตรายเหล่านี้ได้อย่างไร
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act)
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย หมายถึง การกระทำหรือการปฎิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น
1.ความประมาทในงาน
มาจากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานโดยการลัดขั้นตอนหรือรีบเร่ง เพราะคิดว่าตัวเองเชี่ยวชาญมากพอ ทำให้เกิดอันตราย หรือปฏิบัติงานโดยขาดความรู้ ทักษะและความชำนาญก็เป็นเหตุนำมาสู่ความอันตรายได้เช่นกัน
2.สภาพร่างกายที่ไม่พร้อมทำงาน
พนังงานหรือผู้ปฎิบัติงานมีอาการป่วยไข้ อาการเจ็บปวดและอาการเมาค้าง หรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมทำงานแต่ฝืนร่างกายมาทำงานย่อมส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
3.การมีทัศนคติไม่ถูกต้อง
มองอุบัติเหตุเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ ทำให้เกิดความประมาทในการทำงานหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการทำงานอย่างเคร่งครัด เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันก็โทษเรื่องของเวรกรรม ไม่ใส่ใจคำแนะนำหรือคำเตือนเกี่ยวกับความอันตรายในโรงงาน
4.เครื่องแต่งกายไม่ปลอดภัย
ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหรืออุปกรณ์เซฟตี้ในขณะทำงานที่มีความเสี่ยง รวมไปถึงแต่งกายไม่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน ไม่รัดกุมหรือรุ่มร่ามจนก่อให้เกิดอันตรายระหว่างทำงาน
สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition)
สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น
1.อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือเครื่องมือชำรุด
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย หรือเครื่องจักรที่ออกแบบมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมไปถึงการปล่อยปละละเลยเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีการชำรุดแล้ว ยังฝืนให้ใช้งานต่อโดยขาดการบำรุงซ่อมแซม
2.การออกแบบโรงงานและแผนผังไม่ปลอดภัย
ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ เช่น
- – สภาพพื้นโรงงานไม่สมบูรณ์เช่น เป็นหลุม เป็นบ่อ พื้นทรุดหรือพื้นแตกร้าว
- – ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์หรือเครื่องจักรมีความใกล้กันมากเกินไป ทำให้การเคลื่นย้ายเป็นไปได้ลำบากและอาจเกิดอันตรายระหว่างทำงาน
- – ไม่มีทางหนีไฟ หรือตำแหน่งของทางหนีไฟถูกปิดกั้น
- – ไม่มีหน้าต่างหรือช่องทางระบายลม
3.สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการทำงานในโรงงานอาจเกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
- – สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง รังสี แรงสั่นสะเทือน ความกดดัน
- – สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้านเคมี สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน เช่น ตัวทำละลาย โลหะหนัก สารก่อมะเร็ง สารกัดกร่อน สารที่ทำให้เกิดการแพ้ ยาปราบศัตรูพืช สารพิษชนิดต่างๆ เป็นต้น
- – สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอันตราย ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส พยาธิ และ สัตว์อื่นๆ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น
- – สิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์ คือ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะที่เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม ได้แก่ สภาวะในการทำงานที่ถูกเร่งรัดหรือบีบบังคับให้ทำงาน โดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ หรือมอบหมายให้ทำงานมากเกินกำลัง หรือทำงานซ้ำซาก จนเกิดความเบื่อหน่าย การทำงานล่วงเวลา การทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่แปลกหน้า
สาเหตุหลักทั้งสองอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นภาพความอันตรายจากการทำงานในโรงงานแล้ว เพราะฉะนั้นแล้วเราจึงควรเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย
แนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน
การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยหลัก 3 ป. ได้แก่ ปลุกจิตสำนึกอันตราย ประเมินความเสี่ยง และปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
ป.1 ปลุกจิตสำนึกอันตราย
ปลุกจิตสำนึกพนักงานในโรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้คำนึงถึงอันตราย และหลักความปลอดภัยหรือ Safety First ในการปฏิบัติงาน รู้และเข้าใจว่าอุบัติเหตุในการทำงานนั้นจะเกิดได้อย่างไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หมั่นสำรวจและซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงานเป็นประจำ การจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในโรงงานให้พร้อม เช่น สวมใส่ถุงมือ ชุดเซฟตี้หรือชุดหมี หมวกเซฟตี้ ที่ครอบป้องกันเสียงดัง รองเท้าเซฟตี้ เพื่อป้องกันร่างกายจากอุบัติเหตุ
ป.2 ประเมินความเสี่ยง
ควรประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน และจำเป็นจะต้องรู้ว่างานที่ปฏิบัติมีความอันตรายอย่างไร จุดเสี่ยงในโรงงานมีตรงไหนบ้าง ต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองในระหว่างปฏิบัติงานว่ามีความเสี่ยงอย่างไร เช่น ถ้าทำงานกับสารเคมีอาจจะต้องสวมถุงมือ ใส่แว่นตานิรภัย ป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าตา ถ้าทำงานกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องอยู่กับความร้อนหรือความเย็น อาจจะต้องสวมชุดป้องกันแบบควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรประเมินความเสี่ยงของเครื่องจักรที่ใช้งาน ว่าอยู่ในสภาพเช่นไรเสี่ยงแค่ไหนที่จะเกิดอุบัติเหตุ จะได้เตรียมรับมือและหาแนวทางแก้ไขได้ทันก่อนที่จะบานปลายเกิดอุบัติเหตุ
ป.3 ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
เมื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุเรียบร้อยแล้วก็จัดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ชำรุดก็ควรรีบส่งซ่อมบำรุงไม่ควรฝืนใช้งานต่อ นอกจากนั้น ควรสังเกตอุปกรณ์เซฟตี้ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ควรหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน
การป้องกันอันตรายจากการทํางานด้วยแนวทาง 3 ป. ช่วยให้การทำงานในโรงงานปลอดภัยขึ้นแล้วยังลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นอุบัติเหตุคือเรื่องไม่คาดฝันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่คอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยให้กับเราและคอยระงับเหตุการณ์ต่างๆ ให้ก่อนที่จะเกิดขึ้น
จ้างรปภ. โรงงานกับบริษัทรักษาความปลอดภัย Security 1 Service
รปภ. โรงงานของ Security 1 Service ทุกคนได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรรักษาความปลอดภัยในโรงงานโดยเฉพาะ และการสอนหลักสูตรใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อความทันสมัยและเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ทักษะได้ตามสถานการณ์อย่างครอบคลุม เพราะเราคือ บริษัทรักษาความปลอดภัย ที่มุ่งเน้นให้พนักงานมีความชำนาญการและความรู้ในการแก้ไขและจัดการปัญหามากที่สุด เพื่อความปลอดภัยของโรงงาน
หากคุณกำลังมองหาบริการรักษาความปลอดภัย รปภ. โรงงาน ที่มีวินัยจาก บริษัท รปภ. ที่น่าเชื่อถืออยู่ ขอให้พิจารณา Security 1 Service เพราะเราเป็นหนึ่งใน บริษัทรักษาความปลอดภัย ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน พร้อมที่จะให้บริการเพื่อความปลอดภัยของทุกคน สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 02-007-4525
อีเมล: info@security1service.com
IG : Security1service
FB : Security 1 Service
LINE : @security1service